ผลต่อสุขภาพ ของ ความเครียด (จิตวิทยา)

หญิงเครียดกำลังรอพบแพทย์

ความเครียดน่าจะสัมพันธ์กับความเจ็บป่วย[5][2]ทฤษฎีที่เชื่อมความเครียดกับความเจ็บป่วยเสนอว่า ทั้งความเครียดฉับพลันและเรื้อรังอาจทำให้ป่วย โดยมีงานศึกษาหลายงานที่พบเช่นนี้[11]ตามทฤษฎี ความเครียดทั้งสองแบบอาจเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมและร่างกายพฤติกรรมรวมทั้งการสูบบุหรี่ การกิน และการออกกำลังความเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพรวมทั้งการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก/แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล และระบบภูมิคุ้มกัน[12]อย่างไรก็ดี กำลังของความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความเจ็บป่วยที่พบก็ต่าง ๆ กันมาก[13]

ความเครียดอาจทำให้บุคคลเสี่ยงโรคกายต่าง ๆ เช่น เป็นหวัด[14]เหตุการณ์เครียดในชีวิต เช่น การเปลี่ยนงาน อาจทำให้นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หรือมีปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ[15]

งานวิจัยแสดงว่า รูปแบบตัวก่อความเครียด (เช่น แบบฉับพลันหรือแบบเรื้อรัง) และลักษณะบุคคล เช่น อายุและสุขภาพ ที่มีอยู่แล้ว จะมีอิทธิพลต่อความเครียดที่เกิด[11]บุคลิกภาพของบุคคล (เช่น ระดับ neuroticism)[16]กรรมพันธุ์ และประสบการณ์ในวัยเด็ก เมื่อประกอบกับตัวก่อความเครียดหนักหรือความบาดเจ็บ[17]อาจเป็นตัวกำหนดการตอบสนองต่อตัวก่อความเครียด[11]

ความเครียดเรื้อรังและการไม่มีหรือไม่ใช้ทรัพยากรเพื่อรับมือกับความเครียดบ่อยครั้งจะสร้างปัญหาทางจิต เช่น โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล[18]ซึ่งเป็นจริงอย่างยิ่งสำหรับตัอก่อความเครียดแบบเรื้อรังเป็นตัวก่อความเครียดที่อาจไม่หนักเท่ากับความเครียดฉับพลัน เช่น ภัยธรรมชาติหรืออุบัติเหตุ แต่จะคงยืนเป็นเวลานานและมักจะมีผลลบต่อสุขภาพมากกว่า เพราะมันคงยืนและทำให้ต้องตอบสนองทุก ๆ วันซึ่งจะทำให้ร่างกายหมดกำลังได้เร็วกว่าและปกติจะเกิดเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ (เช่น ความเครียดเนื่องจากอยู่อาศัยในที่ไม่ปลอดภัย)ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาได้พบว่า ผู้ดูแลคนป่วยโดยเฉพาะคนป่วยโรคสมองเสื่อม มีระดับความซึมเศร้าที่สูงกว่า และมีสุขภาพแย่กว่าผู้ไม่ต้องดูแลผู้ป่วย[19]

งานศึกษายังพบด้วยยว่า ความเครียดเรื้อรังและความดุที่สัมพันธ์กับบุคลิกภาพแบบ A (ช่างแข่งขัน ชอบเข้าสังคม ทะเยอทะยาน ใจร้อน ดุ) บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าซึ่งมีเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอและระดับความตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเทติกซึ่งสูงโดยเป็นส่วนของการตอบสนองทางสรีรภาพต่อเหตุการณ์เครียด[20]

อย่างไรก็ดี บางคนอาจมีใจแข็งแกร่ง (hardiness) ซึ่งหมายถึงสมรรถภาพในการมีสุขภาพทางจิตดีแม้จะเครียดอยู่เสมอ ๆ[21]นักจิตวิทยาในปัจจุบันกำลังศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนที่แข็งแกร่งสามารถรับมือกับความเครียดและหลีกเลี่ยงปัญหาทางร่างกายจิตใจที่สัมพันธ์กับการมีความเครียดสูง

ปัญหาเช่นอาการหลงผิด (delusion)[22]โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ อาจสัมพันธ์กับความเครียด

ถึงกระนั้น ทุกคนก็จะเครียดบ้าง และแพทย์เท่านั้นที่จะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเครียด[23]ตามงานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 ความวิตกกังวลระดับเป็นโรคและความเครียดเรื้อรังจะทำให้เขตสมองคือฮิปโปแคมปัสเสื่อมและทำงานพิการ[24]

มันเชื่อมานานแล้วว่า อารมณ์เชิงลบ เช่น ความวิตกกังวลและความซึมเศร้า อาจมีอิทธิพลต่อโรคกาย ซึ่งก็จะมีผลต่อกระบวนการทางชีวภาพอันอาจทำให้เสี่ยงโรคเพิ่มขึ้นในที่สุดแต่งานศึกษาต่าง ๆ ก็ได้แสดงว่า นี่ไม่จริงเป็นบางส่วนคือแม้ความเครียดดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่ดี แต่ความรู้สึกว่า ความเครียดเป็นอันตรายก็จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นอีก[25][26]ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเครียดอย่างเรื้อรัง ก็จะเสี่ยงเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรทางสรีรภาพ ทางอารมณ์ และทางพฤติกรรม[16][27]ซึ่งอาจก่อโรคความเครียดเรื้อรังเป็นผลของเหตุการณ์เครียดเป็นระยะเวลานาน เช่น การดูแลคู่ชีวิตที่สมองเสื่อม หรือเป็นผลของเหตุการณ์เครียดชั่วคราวแต่รู้สึกเครียดเป็นระยะเวลานาน เช่น การถูกทำร้ายทางเพศแม้ความเครียดบ่อยครั้งจะเชื่อมกับความเจ็บป่วยหรือโรค แต่คนปกติโดยมากก็ยังไร้โรคแม้หลังจากประสบกับเหตุการณ์เครียดแบบเรื้อรังอนึ่ง บุคคลที่ไม่เชื่อว่าความเครียดจะมีผลต่อสุขภาพของตน ก็ไม่เสี่ยงเพิ่มต่อความเจ็บป่วย โรค หรือความตาย[26]ซึ่งแสดงว่า ความเครียดมีอิทธิพลการก่อโรคในแต่ละบุคคลไม่เท่ากันเป็นความต่างเนื่องกับปัจจัยทางกรรมพันธุ์และทางจิตใจอนึ่ง อายุที่ประสบกับความเครียดจะเป็นตัวกำหนดผลต่อสุขภาพด้วยงานวิจัยแสดงว่า ความเครียดเรื้อรังในวัยเด็กจะมีผลต่อการตอบสนองทางชีวภาพ ทางจิตใจ และทางพฤติกรรมต่อความเครียดที่ได้รับต่อ ๆ มาตลอดชีวิต[28]

เพราะความเครียดมีผลต่อกาย บางคนก็อาจไม่แยกแยะปัญหานี้กับโรคอื่น ๆ ถ้าอาการชัดเจน (เช่น มีก้อนที่หน้าอก) บุคคลจะไปหาหมอไม่ว่าจะเครียดอยู่หรือไม่แต่ถ้าอาการไม่ชัดเจน (เช่น ปวดหัว) ก็จะไม่ไปหาหมอเพราะเข้าใจว่าอาการมาจากความเครียดเมื่อสิ่งที่ทำให้เครียดเริ่มเกิดเร็ว ๆ นี้คือไม่เกิน 3 อาทิตย์ และจะไปหาหมอถ้าสิ่งที่ทำให้เครียดมีมานานกว่านั้น[29]

มะเร็ง

ในสัตว์ ความเครียดมีผลต่อการเกิด การเติบโต และการแพร่กระจายของเนื้องอกที่ตรวจดู แต่งานศึกษาซึ่งพยายามเชื่อมความเครียดกับความชุกโรคมะเร็งในมนุษย์ก็มีผลไม่ชัดเจนซึ่งอาจเป็นเพราะออกแบบและทำงานศึกษาที่เหมาะสมได้ยาก[27] ในงานศึกษาในสหราชอาณาจักรงานหนึ่ง ความเชื่อว่าความเครียดเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเป็นเรื่องสามัญ แต่ความสำนึกถึงปัจจัยเสี่ยงมะเร็งโดยทั่วไปก็จัดว่าน้อย[30]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเครียด (จิตวิทยา) http://www.collinsdictionary.com/dictionary/englis... http://blog.ted.com/could-stress-be-good-for-you-r... http://www.ttgmice.com/article/cwt-rolls-out-solut... http://oregonstate.edu/instruct/dce/hhs231_w04/nin... http://www.cla.purdue.edu/academic/engl/theory/psy... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2568977 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3374921 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3871742 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4253863 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11392869